การสอบ Norskprøve 2 (A1-A2) นั้นมี 2 ส่วน ซึ่งประกอบด้วย
1. ส่วนของการเขียน ได้แก่การทดสอบการฟัง เป็นการตอบคำถามจากการฟังจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้หูฟัง ซึ่งการทดสอบจะมีทั้งเป็นแบบ มีรูปภาพให้เลือกตอบ เป็นแบบมีตัวเลือกให้เลือกตอบ และการเรียงลำดับเหตุการณ์ ใช้เวลาประมาณ 25 - 50 นาที ในข้อสอบ 1 ข้อ เราจะได้ฟังคำถามจำนวน 2 ครั้ง เราควรตั้งใจฟังให้ดีค่ะ เพราะเราไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขคำตอบได้ ซึ่งการสอบจากคอมพิวเตอร์นี้ข้อสอบจะมีหลายชุดมาก บางข้อก็มีทั้งประโยคภาษานอร์เวย์และเสียงพูดไปพร้อมกัน โดยทั้งคำถามและตัวเลือกของผู้สอบแต่ละคนจะทำการสุ่มและสลับกันค่ะ ถ้าเราตอบถูกมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะได้คำถามที่ยากขึ้น โดยผลสอบนั้นสามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ระดับ ไม่ได้รับการประเมิน, ต่ำกว่า A1, A1, A2, B1 และ B2 ค่ะ
การทดสอบการตอบคำถามจากเนื้อเรื่อง ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอบ เป็นการตอบคำถามจากการอ่านเนื้อเรื่อง ข้อความประกาศ หรือ ตาราง เช่น ตารางการฉายภาพยนตร์ โดยจะมีทั้งให้คำตอบให้เลือก และการจับคู่ สามารถย้อนกลับไปยังข้อสอบข้อต่าง ๆ ได้ค่ะ ใช้เวลาประมาณ 75 นาที จำนวนประมาณ 30 ข้อ โดยผลสอบนั้นสามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ระดับ ไม่ได้รับการประเมิน, ต่ำกว่า A1, A1, A2, B1 และ B2 ค่ะ
การทดสอบการเขียน ใช้เวลา 90 นาที เน้นการเขียนที่ถูกต้องตามไวยากรณ์ ประโยคสั้น ๆ อาจจะไม่ต้องยาวมาก เพราะยิ่งยาวยิ่งเสียงต่อการเขียนผิดเยอะ โดยข้อสอบจะมีทั้งหมด 3 ข้อ (ต้องทำให้ครบทั้ง 3 ข้อ)
ข้อ 1 อาจจะให้อธิบาย เช่น
1. เขียนอีเมล์ถึงคุณครูที่โรงเรียนเพื่อขอลาไปเที่ยวต่างประเทศ
2. เขียนอีเมล์ถึงคุณครูที่โรงเรียนเพื่อบอกกล่าวว่าเราชอบรับประทานอาหารอะไร เพราะคุณครูได้เชิญเราไปรับประทานอาหารเย็นที่บ้านด้วยกัน
ข้อ 2 เป็นการเขียนอธิบายรูปภาพ โดยข้อสอบจะมีรูปภาพมาให้ ซึ่งต้องเขียนประมาณ 50 - 80 คำ ก็เขียนไปสัก 5-6 ประโยคก็พอค่ะ
ข้อ 3 เป็นการเขียนอธิบายบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะต้องเขียนอย่างน้อย 80 คำ ซึ่งระบบจะแสดงให้เราเห็นเลยว่าเราเขียนไปจำนวนกี่คำแล้ว โดยอาจจะให้อธิบาย เช่น
คำถาม A พูดคนเดียว จะเป็นการแนะนำตัวเองเบื้องต้น ใช้เวลาในการพูด 2 - 3 นาที เช่น ชื่อ มาจากไหน อายุเท่าไหร่ สถานภาพการสมรส มีบุตรกี่คน อาศัยอยู่ที่ไหน ชอบทำอะไรในเวลาว่าง ให้ฝึกฝนและท่องเป็นประจำให้ขึ้นใจเลยค่ะ เป็นต้น
คำถาม B พูดคนเดียว ให้อธิบายรูปภาพ ซึ่งแต่ละคนจะได้รูปภาพที่ใช้ในการสอบแตกต่างกันออกไป ใช้เวลาในการพูด 2-3 นาที เช่น ในรูปภาพเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนมากมาย ก็อธิบายไปว่า แต่ละคนทำอะไรกัน เดินเล่น ขี่จักรยาน หรือ นั่งพักผ่อน เป็นต้น
คำถาม C จะเป็นการสนทนาระหว่างนักเรียนผู้สอบจำนวน 2 คน ใช้เวลาในการพูด 3 - 5 นาที ซึ่งตรงนี้เราต้องแสดงให้กรรมการสอบเห็นว่าเราสามารถโต้ตอบสนทนากับคู่สอบของเราได้ อาจจะให้อธิบาย เช่น ชอบทำอะไรในเวลาว่าง ชอบทานอาหารชนิดไหนเพราะอะไร สภาพอากาศและฤดูของประเทศของเราเป็นอย่างไร เป็นต้น
คำถาม D พูดคนเดียว จะเป็นการอธิบายหรือบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ใช้เวลาในการพูด 2 - 3 นาที เราต้องแสดงให้เห็นว่าเราสามารถบอกเล่าเรื่องราวตามหัวข้อที่กำหนดได้ อาจจะให้อธิบาย เช่น เล่าถึงประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เราชื่นชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักประวัติศาสตร์ บอกเล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดที่เราอยากจะไปเที่ยว หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เราไปเที่ยวมาแล้วประทับใจมากที่สุด เราต้องสามารถพูดอธิบายให้ถูกต้อง เช่น คำกริยาที่ควรจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต เป็นต้น
โดยวันสอบทั้งการพูดและการเขียนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันค่ะ เราจะได้จดหมายจากทางศูนย์การสอบ ทั้งนี้ควรไปสอบให้ตรงกับวันเวลาตามที่ในจดหมายของเราได้ระบุไว้ หากไปสอบไม่ได้ ก็สามารถแจ้งทางศูนย์ เพื่อจะได้สอบชดเชยภายหลังค่ะ
ข้อ 2 เป็นการเขียนอธิบายรูปภาพ โดยข้อสอบจะมีรูปภาพมาให้ ซึ่งต้องเขียนประมาณ 50 - 80 คำ ก็เขียนไปสัก 5-6 ประโยคก็พอค่ะ
ข้อ 3 เป็นการเขียนอธิบายบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะต้องเขียนอย่างน้อย 80 คำ ซึ่งระบบจะแสดงให้เราเห็นเลยว่าเราเขียนไปจำนวนกี่คำแล้ว โดยอาจจะให้อธิบาย เช่น
- อธิบายสิ่งที่เราทำเป็นประจำทุกวัน เช่น ตื่นนอนกี่โมง ตื่นมาแล้วทำอาหาร รับประทานอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน ไปโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือ ตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมง เป็นต้น
- อธิบายถึงเราชอบทำอะไรในเวลาว่าง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ไปเดินเล่น เป็นต้น
- อธิบายถึงอาหารในประเทศของเรา เช่น รสชาติเป็นอย่างไร อาหารที่ขึ้นชื่อ เป็นต้น
- อธิบายถึงรายการทีวีที่เราชอบดู
- อธิบายถึงกีฬาที่เราชอบเล่น
- อธิบายถึงเราชอบทำอะไรในวันหยุดสุดสัปดาห์
- อธิบายถึงหนังสือที่เราชอบอ่าน
- อธิบายถึงเรามีวิธีการอย่างไรทำให้ร่างกายแข็งแรง
- อธิบายถึงเรามีวิธีการเรียนภาษานอร์เวย์อย่างไร
- อธิบายเราทำอะไรบ้างเมื่อวานนี้
- จะทำอะไรในวันพรุ่งนี้ หรืออาทิตย์ หรือเดือนหน้า (ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคต ใช้การเขียนแบบใช้คำที่แสดงถึงอนาคต เช่น skal, vil)
- อธิบายถึงเพื่อนรักของเรา
- อธิบายถึงชีวิตในวัยเด็กของเรา
- อธิบายถึงเราใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไรบ้าง
2. ส่วนของการพูด
เป็นการทดสอบการพูด โดยผู้กรรมการสอบจะเป็นคนจับคู่ให้กับนักเรียนผู้ทำการสอบ เราไม่สามารถเลือกได้ว่าต้องการสอบกับใคร โดยการสอบแบ่งออกเป็น 3 คำถาม (บางคนอาจได้ 4 คำถาม) เช่นคำถาม A พูดคนเดียว จะเป็นการแนะนำตัวเองเบื้องต้น ใช้เวลาในการพูด 2 - 3 นาที เช่น ชื่อ มาจากไหน อายุเท่าไหร่ สถานภาพการสมรส มีบุตรกี่คน อาศัยอยู่ที่ไหน ชอบทำอะไรในเวลาว่าง ให้ฝึกฝนและท่องเป็นประจำให้ขึ้นใจเลยค่ะ เป็นต้น
คำถาม B พูดคนเดียว ให้อธิบายรูปภาพ ซึ่งแต่ละคนจะได้รูปภาพที่ใช้ในการสอบแตกต่างกันออกไป ใช้เวลาในการพูด 2-3 นาที เช่น ในรูปภาพเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนมากมาย ก็อธิบายไปว่า แต่ละคนทำอะไรกัน เดินเล่น ขี่จักรยาน หรือ นั่งพักผ่อน เป็นต้น
คำถาม C จะเป็นการสนทนาระหว่างนักเรียนผู้สอบจำนวน 2 คน ใช้เวลาในการพูด 3 - 5 นาที ซึ่งตรงนี้เราต้องแสดงให้กรรมการสอบเห็นว่าเราสามารถโต้ตอบสนทนากับคู่สอบของเราได้ อาจจะให้อธิบาย เช่น ชอบทำอะไรในเวลาว่าง ชอบทานอาหารชนิดไหนเพราะอะไร สภาพอากาศและฤดูของประเทศของเราเป็นอย่างไร เป็นต้น
คำถาม D พูดคนเดียว จะเป็นการอธิบายหรือบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ใช้เวลาในการพูด 2 - 3 นาที เราต้องแสดงให้เห็นว่าเราสามารถบอกเล่าเรื่องราวตามหัวข้อที่กำหนดได้ อาจจะให้อธิบาย เช่น เล่าถึงประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เราชื่นชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักประวัติศาสตร์ บอกเล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดที่เราอยากจะไปเที่ยว หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เราไปเที่ยวมาแล้วประทับใจมากที่สุด เราต้องสามารถพูดอธิบายให้ถูกต้อง เช่น คำกริยาที่ควรจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต เป็นต้น
โดยวันสอบทั้งการพูดและการเขียนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันค่ะ เราจะได้จดหมายจากทางศูนย์การสอบ ทั้งนี้ควรไปสอบให้ตรงกับวันเวลาตามที่ในจดหมายของเราได้ระบุไว้ หากไปสอบไม่ได้ ก็สามารถแจ้งทางศูนย์ เพื่อจะได้สอบชดเชยภายหลังค่ะ